ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง
ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
- งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
- งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
- งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
- งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์
3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น
ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม
3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 – 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
- ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
- หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
- หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
1 | ตรวจทาน/แก้ไข แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 1.) ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (ข้อที่ 2.) และหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 3.) เรียบร้อยแล้ว |
2 | ให้ท่านส่งไฟล์กลับมายังอีเมลศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ tu.tuipi@gmail.com เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ทำความเข้าใจ และแก้ไขกลับไปให้ท่านอ่านเนื้อหาอีกครั้งว่า ยังมีเนื้อหาที่ตรงกับความประสงค์ของผู้สร้างสรรค์หรือไม่่ |
3 | ให้ท่าน (ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน) ส่งไฟล์ที่แก้ไขกลับมายังอีเมลศูนย์ฯ อีกครั้ง |
4 | เมื่อหลักฐานครบ รายละเอียดการประดิษฐ์ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานการยื่นที่ได้เลขที่คำขอลิขสิทธิ์แล้วส่งคืนเจ้าของผลงานทั้งในรูปของเอกสาร (Hard copy) และไฟล์ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานร่วมกันกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต่อไป |
หลักการพิจารณาในการใช้ fair use
- ผู้นำไปใช้ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือแสวงหาผลกำไรไม่มีเจตนาทุจริต
ผู้ใช้ต้องพิจารณาระดับการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องใช้จินตนาการสูงใช้ความพยายาม เช่น นวนิยายการรายงานเหตุการณ์ที่เฉพาะไม่ควรนำผลงานเหล่านี้ไปใช้เด็ดขาด
การนำผลงานไปใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้ในปริมาณที่น้อยแต่เป็นส่วนที่สำคัญถือว่าเป็นการใช้งานที่ไม่เป็นธรรม
การใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติของเจ้าของผลงานอาจทำให้ผลงานนั้นขายไม่ได้
ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
- การวิจัยหรือศึกษางานโดยไม่แสวงหากำไร เช่น น.ร. สำเนาข้อความบางส่วนในบทความเพื่อทำแบบฝึกหัด
- ผู้สอน ทำซ้ำ ดัดแปลงผลงานเพื่อประกอบการสอน แจกจ่ายจำนวนจำกัด เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนและมีการอ้างอิงเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่แสวงหากำไร
- การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้เพื่อสังคมโดยคัดลอก ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติ่มสิ่งใหม่ และมีการอ้างอิงในงานวิจัยเพื่ออธิบายความคิดเห็นของผู้เรียน
- การคัดลอกคำกล่าวหรือบทความโดยย่อ และมีการอ้างอิงในการรายงานข่าว
- กรณีหนังสือไม่ได้พิมพ์จำหน่ายเป็นเวลานานและมีการนำไปใช้งาน ถึงไม่กระทบต่อรายได้เจ้าของลิขสิทธิ์จนอาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ขายไม่ได้ เพราะหนังสือไม่มีขายแล้ว ถือว่าเป็นการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
- การเสนอรายงานหรือติชม วิจารณ์แนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในปริมาณที่เหมาะสมและมีการอ้างอิง
- การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยไม่ได้แสวงหาผลกำไร ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์เปิดโอกาสให้สาธารณชนทำซ้ำได้โดยไม่คิดมูลค่า
- การรายงานข่าว งานวรรณกรรมที่ตีพิมพ์เพื่อวางจำหน่าย ที่รายงานไม่เกิด 10% หรือ 1,000 คำ และใช้ภาพไม่เกิน 6 ภาพ และมีการอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการใช้งานในปริมาณพอสมควร ถือว่าเป็นการใช้ผลงานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
- การสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีไว้จำหน่าย สามารถสำรองไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย
- การรายงานข่าวโดยใช้มิวสิควิดีโอประกอบไม่เกิน 10% หรือไม่เกิน 30 วินาทีของผลงานนั้น โดยมีการอ้างอิงเจ้าของผลงาน
- การดาวน์โหลดเพลงของผู้อื่นไปขาย
- ผู้สอนถ่ายเอกสารหนังสือเรียนเพื่อขายกับผู้เรียนจำนวนมากทำให้เจ้าของลิขสิทธ์สูญเสียรายได้
- การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบลองใช้ (Shareware) อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะหมดอายุการใช้งาน
- ผู้นำไปใช้มีเจตนาทุจริต นำผลงานไปใช้โดยไม่อ้างอิงหรือใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าผลงานนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง