อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Internet of things : IoT เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันจากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เชื่อมต่อหรือติดต่อสื่อสารถึงกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน Smart Watch รถยนต์อัจฉริยะและอุปกรณ์ดีๆโดยมีจำนวนการใช้งานอุปกรณ์ IoTทั่วโลกหลายพันล้านอุปกรณ์
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น IoT เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันส่งผลให้เกิดข้อมูลที่มีปริมาณมากในแต่ละวันจะสมกันจนได้ข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยเหตุนี้การดำเนินการทางธุรกิจจึงหันมาใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและการให้บริการในด้านนั้น ๆ
สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
1. สมองกลฝังตัวและ Sensor
สมองกลฝังตัวที่ประกอบด้วยเซนเซอร์เป็นอุปกรณ์ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโลกกายภาพและโลกดิจิทัลโดยเซ็นเซอร์สามารถตรวจจับสิ่งที่สนใจรวมทั้งประเมินผลและจัดเก็บข้อมูลแบบทันทีทันใดแล้วมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานเช่นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิคุณภาพอากาศ ความชื้น การเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์สามารถวัดสมบัติทางกายภาพและเปลี่ยนค่าที่วัดได้ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์นั้น ๆ สามารถเข้าใจได้
2. Gateway และเครือข่าย
เซ็นเซอร์ส่วนใหญ่ต้องเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายและเก็บมือเพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตจึงทำให้การเชื่อมต่อแบบ Lan Local area Network: LAN เครือข่ายไร้สาย Wifi เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายส่วนบุคคล Personal area Network เช่น บลูทูธ สำหรับเซ็นเซอร์บางตัวสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายแบบไร้สาย เรียกว่า เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย Wireless Sensor Network: WSN ซึ่ง Sensor เหล่านี้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ใช้พลังงานน้อยแล้วรับส่งข้อมูลในอัตราต่ำที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้มีความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายจึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ Machine to Machine :M2M ผ่านเครือข่ายที่มีการใช้โปรโตคอลที่แตกต่างกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เนื่องจาก Sensor ต่าง ๆ ผลิตข้อมูลจำนวนมหาศาลจึงต้องการเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงมีความเสถียรภาพทนทานมั่นคงปลอดภัยและเพียงพอต่อการรับส่งข้อมูล
3. ส่วนสนับสนุนการบริการ
ส่วนสนับสนุนการบริการเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนเช่นการประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการควบคุมความปลอดภัยการบริหารจัดการการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ การควบคุมการรับส่งข้อมูลและทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่าง Application กับอุปกรณ์ไอโอทีการใช้งานไอโอทีนิยมใช้การประมวลผลแบบคลาวด์ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่
4. Application
Application เป็นส่วนติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์และทำให้เราสามารถควบคุมอุปกรณ์ IoT ได้จากระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนอกจากนี้ยังอาจเป็นระบบที่ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการทำงานแบบอัตโนมัติ
ในปัจจุบันได้มีการนำเอาอุปกรณ์ IoT มาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันและปรับปรุงคุณภาพชีวิต
Smart City เมืองอัจฉริยะ
เป็นการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองดีขึ้นเช่นการดูแลรักษาความปลอดภัยโดยใช้กล้องวงจรปิด การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การบริหารจัดการพลังงาน การจัดการจราจร
Smart healthcare ศูนย์สุขภาพอัจฉริยะ
เป็นการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ใช้ในการแพทย์เพื่อช่วยในการจัดเก็บ วิเคราะห์ ซึ่งอาจรวมถึงการรักษาระยะไกล
Smart Home บ้านอัจฉริยะ
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ใช้ในที่อยู่อาศัยเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันเช่นสวิตซ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ประตูอัจฉริยะ โทรทัศน์หรือตู้เย็นอัจฉริยะ กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในบ้าน
Smart Farm ฟาร์มอัจฉริยะ
เป็นการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตรเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาเช่นการนำเซ็นเซอร์มาวัดคุณภาพของดินความชื้น หรือสภาพอากาศ แนะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม