4.3 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.5

การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้รูปแบบมาตรฐานดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น เรายังสามารถนำเสนอข้อมูลใน
รูปแบบอื่น ๆ ให้น่าสนใจได้อีก การนำเสนอข้อมูลให้เป็นภาพที่น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย จะใช้หลักการในการมองเห็นและการรับรู้ของ
จาคส์ เบอร์ติน (Jacques Bertin) ผู้ริเริ่มการทำข้อมูลให้เป็นภาพ(information visualization) โดยได้กำหนดตัวแปรในการมองเห็นไว้
7 ตัวแปร ได้แก่ (1) ตำแหน่ง (2) ขนาด (3) รูปร่าง (4) ความเข้ม (5) สี (6) ทิศทาง และ (7) ลวดลาย 

กระบวนการทำข้อมูลให้เป็นภาพ

เริ่มต้นจากการนำข้อมูลดิบมาแปลงให้อยู่ในรูปของตารางที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อได้ จากนั้นจึงพิจารณาเลือกชนิดของกราฟหรือแผนภูมิ และออกแบบแผนภาพรวมทั้งองค์ประกอบของภาพ เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่จะนำเสนอ แล้วจึงนำไปให้กลุ่มเป้าหมายพิจรณา และอธิบาย เพื่อดูว่าตรงกับที่เราต้องการจะนำเสนอหรือไม่ ถ้าไม่ตรง ให้ย้อนกลับไปดูว่าข้อมูลเพียงพอหรือไม่ หรือแผนภาพที่นำเสนอเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจต้องออกแบบใหม่ และนำไปทดสอบจนกว่ากลุ่มเป้าหมายจะอธิบายภาพได้ตรงตามจุดประสงค์เพื่อให้สื่อสารได้ถูกต้องครบถ้วน

1. การสร้างความโดดเด่น (selective) เพื่อให้ผู้รับสารมุ่งตรงไปยังข้อมูลที่ต้องการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้สีและความเข้มทำให้

2. การจัดกลุ่ม (associative) เพื่อแสดงการแบ่งกลุ่มของข้อมูล แสดงข้อมูลการจัดกลุ่มจังหวัดตามภาคโดยใช้สีต่างกัน และแสดง
ข้อมูลเมืองหลัก ข้อมูลเมืองรองในแต่ละภาคด้วยความเข้มของสีที่ต่างกันโดยเมืองหลักใช้สีจางกว่าเมืองรองเพราะแผนภาพนี้ใช้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง

3. การบ่งปริมาณ (quantitative)เพื่อให้ผู้รับสารสนใจและรับรู้ได้อย่างรวดเร็วตรงจุดที่ต้องการให้เห็นสำหรับการแสดงข้อมูลในเชิงปริมาณ
เช่น ความยาว ความกว้าง หรือขนาดของเส้นกราฟ แผนภาพ หรือแผนภูมิจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น คนส่วนใหญ่จะพิจารณาว่าเส้นกราฟที่ยาวกว่า แสดงถึงค่าที่มากกว่าเส้นกราฟที่สั้นนอกจากนี้ อาจแสดงข้อมูลเชิงปริมาณด้วยขนาดของพื้นที่ และสี
ที่ต่างกัน เช่น ตัวอย่างการคัดเลือกนักเรียนเข้าแข่งขันออกเป็น 3 กลุ่ม (มิติที่ 1)โดยสี่เหลี่ยมเล็ก 1 รูปแทนนักเรียน 1 คน แต่นักเรียนทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นคนที่ซ้ำกัน (มิติที่ 2) จึงแสดงด้วยสีที่ต่างกัน