ตรรกวิทยานั้นเปรีบเหมือนกับเหรียญที่มี 2 ด้าน ด้านเรกซึ่งเป็นด้นบวกนั้นเป็นการกล่าวถึงข้อกำหนดหรือเกณฑ์ที่จะค้องปฏิบัติเพื่อให้ได้การอ้างเหตุผลที่สมบูรณ์ส่วนคนที่สองซึ่งเป็นด้านลบนั้นเป็นการกล่าวถึงความผิดพลาคที่เกิคขึ้นในการอ้างเหคุผล
ความหมาย
เหตุผลวิบัติ (fallacy) เป็นการอ้างเหตุผลที่บกพร่องอันเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการคิดหาเหตุผล (reasoning process) ทั้งแบบอุปนัยเละนิรนัยซึ่งส่งผลให้การอ้างเหตุผลนั้นเป็นการอ้างหตุผลที่วิบัติ (fallacious argument)
ในส่วนที่เกี่ขวกับเหตุผลวิบัตินี้ มีสิ่งที่ควรสังเกตอย่อข่างหนึ่งคือ การพบว่ามีเหตุผลวิบัติในการอ้างเหตุผลใดนั้น มันไม่ได้ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าข้อสรุปนั้นเท็จ (falรe) ในกรณีที่การองเหตุผลบกพร่องหรือวิบัตินั้น มันหมายถึงว่า การอ้างเหตุผลนั้นจะไม่เป็นเหตุผลที่ทำให้เราเชื่อได้ว่าข้อสรุปนั้นถูก
เหตุผลวิบัติแบ่งได้ 2 ประเภท
1. เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ
2.เหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ
1. เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ
เกิดจากการให้เหตุผลที่ใช้หลักตรรกะที่ไม่ถูกต้อง แต่เขียนในรูปแบบที่เป็นทางการทำให้ดูสมเหตุสมผล
นักเรียนอาจตีความว่า ถ้าเลือก แล้วจะมีการพัฒนาหมูบ้าน แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้จะถูกเลือกก็อาจจะไม่มีการพัฒนาหมูบ้านก็ได้
2. เหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ
การให้เหตุผลโดยอ้างถึงผู้พูดว่า มีพฤติกรรมขัดแย้งกับสิ่งที่พูดเพราะสิ่งที่พูดเชื่อถือไม่ได้
เหตุผลที่พ่อให้เป็นเหตุผลที่ถูกต้อง แต่ลูกไม่ได้สนใจความถูกต้องแต่กลับไปสนใจพฤติกรรมของพ่อที่ขัดแย้งกับสิ่งที่พ่อกำลังสอน
การให้เหตุผลโดยอ้างอิงถึงลักษณะของตัวบุคคลโดยไม่สนใจเนื้อหาสาระของข้อความ
ความคิดเห็นของผู้พูดเป็นความคิดที่ดี แต่คนฟังไม่สนใจประเด็นที่พูดแต่มุ่งประเด็นไปที่ผู้พูดเป็นเด็ก
การให้เหตุผลโดยอ้างถึงความน่าสงสาร หรือความเห็นอกเห็นใจแล้วเปลี่ยนเป็นความถูกต้อง
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดทางกฎหมาย แต่คนที่แสดงความเห็นกลับมุ่งประเด็นไปที่เหตุผลของการกระทำ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน
การให้เหตุผลโดยอ้างถึงคนส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ทำจึงถูกต้อง
ผู้พูดรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง แต่กลับอ้างถึงสิ่งที่คนอื่นทำแล้วไม่ถูกต้องเหมือนกัน เพื่อเป็นเหตุผลให้ตนเองไม่ต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง
การให้เหตุผลโดยสร้างทางเลือกไว้แค่ 2 ทาง แต่ในความเป็นจริงอาจมีทางเลือกอื่นๆ อีก
การให้เหตุผลอาจมีปัจจัยอื่นๆ มาประกอบ ไม่ได้มีแค่ 2 ทางเลือกเท่านั้น การที่เราไม่เห็นด้วยกับทางเลือกแรก ไม่จำเป็นต้องเลือกทางเลือกที่ 2 อาจมีทางเลือกอื่น ๆ อีก
การให้เหตุผลเกินจริง โดยบอกเหตุผลว่าเมื่อสิ่งนี้เกิดจะมีอีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นตามมาซึ่งเกินความจริงไปมาก
การโต้แย้งของนาย ข เกินความเป็นจริงไปมาก ซึ่งนาย ก มีเจตนาให้นักเรียนใส่แค่หน้ากากอนามัยเฉพาะช่วงเวลาที่มีฝุ่นจำนวนมากเท่านั้น
การให้เหตุผลโดยเบี่ยงประเด็นการโต้แย้งของผู้อื่นให้กลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วค่อยโจมตีประเด็นที่ถูกบิดเบือน
เจตนาของนาย ก ต้องการสนับสนุนให้นักเรียนนำ SmartPhone มาใช้ในการเรียนแต่นาย ข โต้แย้งโดยเบี่ยงไปประเด็นอื่นเพื่อโจมตีนาย ก
การให้เหตุผลโดยอ้างว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งพิเศษไม่เหมือนใคร ดังนั้นจะเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นไม่ได้ ทั้งที่ประเด็นที่อ้างนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โต้แย้งกันอยู่เลย
สิ่งที่ลุงทำนั้นไม่ถูกต้อง แต่ให้เหตุผลโดยอ้างถึงความพิเศษคือ ตนเองเป็นผู้ใหญ่ซึ่งไม่ต้องทิ้งขยะลงถังก็ได้
ประเภทของเหตุผลวิบัติ
เหตุผลวิบัติ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. เหตุผลวิบัติทางรูปแบบ (Formal or Logical Fallacy)
2. เหตุผลวิบัติทางเนื้อหา (Informal or Material Fallacy)
3. เหตุผลวิบัติทางจิตวิทยา (Psychological Fallacy)
1. เหตุผลวิบัติทางรูปแบบ (Formal or Logical Fallacy)
ความหมาย
เหตุผลวิบัติทางรูปเบบ (formal or l ogical Fallacy) เป็นการอ้างเหตุผลบกพร่องที่เกี่ขวข้องกัการองเหตุผลแบบนิรนับโดยฉพาะ และมีลักษณะป็นความผิดพลาดในทางรูปเทซึ่งสามารถรู้ได้โดยการตรวงสอบรูปแบบหรือโครงสร้างของการอ้างเหตุผลหตุผลวิบัติทางรูปแบบมีหลายชนิด คือ
1.1 เหตุผลวิบัติของการคิดหาหตุผลโดยตรง
1.2 เหตุผลวิบัติของตรรกบท
1.3 เหตุผลวิบัติขอตรรกบทสันน็ษฐาน
1.4 เหตุผลวิบัติของตรรกกทเผื่อเลือก
1.5 เหตุผลวิบัติของตรรกบทใดประตู
2. เหตุผลวิบัติทางเนื้อหา (Informal or Material Fallacy)
ความหมาย
เหตุผลวิบัติทางเนื้อหา (Informal or Material Fallacy) เป็นความผิดพลาดในการอ้างเหตุผลแบบอุปนัยที่จะนพบได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของการอ้างเหตุผล
แบบของเหตุผลวิบัติทางเนื้อหา
เหตุผลวิบัติทางเนื้อหานั้นมีมาก แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางแบบท่านั้นคือ
1. การด่วนสรุป
2. การใช้แนวเทียบผิด
3. การใช้สมมติฐานผิดความหมาย
4. การอ้างความเป็นสาเหตุผิด
3. เหตุผลวิบัติทางจิตวิทยา
ความหมาย
เหตุผลวิบัติทางจิตวิกขา เป็นการอ้างเหตุผลบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการใช้องค์ประกอบทางจิตวิทยามาช่วยให้ผู้อื่นขอมรับข้อสรุปที่เสนอแม้ว่าองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่นำมาใช้เป็นข้ออ้างเหล่านั้นอาจจะเกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดผลในทางจิตวิทยา เช่น ทำให้กลัว สงสารเห็นใจ สร้างความรู้สึกให้อยากเป็นหรือไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ฯลฯ ที่จะทำให้ขอมรับข้อสรุปที่เสนอแต่มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปในเชิงตรรกวิทยา ข้อสรุปที่ได้จากการคิดหาเหตุผลในลักษณะดังกล่าวนั้นบางครั้งอาจจะดูเหมือนว่าตามมาจากข้ออ้างและน่ายอมรับแต่ในทางตรรกวิทยาแล้วถือว่าเป็นการอ้างเหตุผลที่บกพร่อง เนื่องจากข้อสรุปนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องหรือตามมาจากข้ออ้าง (ซึ่งมีองค์ประกอบทางจิตวิกขา) นั้นเลยในส่วนที่ีเกี่ยวข้องกับการคิดหาเหตุผล กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปกับข้ออ้างนั้นเป็นไปด้วยอารมณ์ (emotional) ไม่ได้เป็นไปด้วยเหตุผล ดังนั้น สำหรับเหตุผลวิบัติทางจิตวิทยาแล้ว เราจะต้องพิจารณาแยกความแตกต่างระหว่างการอ้างเหตุผลที่มีหลักฐานที่เเท้จริงกับการอ้างหตุผลที่องอารมณ์ความรู้สึก (emotional appeal) ที่เเสดงออกมาในหลายรูปแบบที่ต่าง ๆ กัน
แบบของเหตุผลวิบัติทางจิตวิทยา
เหตุผลวิบัติทางจิตวิทยาที่ปรากฎในการอ้างเหตุผลนั้นมีมากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางส่วนและบางรูปแบบเท่านั้น คือ
1. การอ้างอำนาจ
2. การอ้างเมตตาธรรม
3. การอ้างคนส่วนมาก
4. การอ้างความไม่รู้
5. การโจมตีตัวบุคคล