การประมวลผลแบบคลาวด์เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่ นหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ พื้นที่เก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถใช้งานทรัพยากรเหล่านั้นได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่สนใจว่าทรัพยากรที่ใช้นั้นอยู่ที่ใด ไกลจากผู้ใช้มากแค่ไหน
การใช้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์เปรียบเหมือนกับการที่เราใช้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ซึ่งผู้ใช้เพียงแค่เปิดสวิตช์ไฟ หรือก๊อกน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าโรงไฟฟ้าและน้ำประปาอยู่ที่ใดเพียงแต่ต้องจ่ายค่าบริการแก่บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าและน้ำประปาตามปริมาณที่ใช้
เราสามารถใช้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โดยเรียกใช้บริการผ่าน Browser หรือ Application ที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์เหล่านี้
เมื่อเราใช้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์เช่น แชร์ภาพบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ไฟล์ภาพนั้นไม่ได้ถูกนำไปเก็บในกลุ่มก้อนเมฆหรือบรรยากาศเหมือนชื่อที่เรียกแต่ไฟล์ภาพนั้นจะถูกเก็บอยู่ในศูนย์ข้อมูล Data Center ของผู้ให้บริการ Cloud Service providers ที่ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูภาพนั้นได้ตลอดเวลา นอกจากตัวเราแล้วจะมีผู้ใช้คนอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากที่แชร์ภาพบนเครือข่ายสังคมเช่นเดียวกันและไฟล์ภาพของบุคคลเหล่านั้นก็จะเก็บอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่เดียวกับที่เก็บไฟล์ของเรา ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของฝ่ายโดยใช้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน
นอกจากเครือข่ายสังคมยังมีบริการอื่น ๆ ที่ใช้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์บนอินเทอร์เน็ตเช่นอีเมล ภาพยนตร์ออนไลน์ เพลงออนไลน์ และการให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูล
สำหรับบุคคลทั่วไป
การประมวลผลแบบคลาวด์ได้อำนวยความสะดวกให้ใช้บริการต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาและส่วนใหญ่เป็นการให้บริการแบบไม่มีค่าใช้จ่ายแต่หากต้องการใช้บริการที่เกินกว่าบริการพื้นฐานผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนด
สำหรับภาคธุรกิจ
การประมวลผลแบบคลาวด์จะช่วยให้บริษัทมีทรัพยากรคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์เฉพาะด้านในการทำธุรกิจที่พร้อมใช้งานโดยที่บริษัทไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาเก็บไว้ที่บริษัทตนเองทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์นอกจากนี้บริษัทยังสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทำให้บริษัทมีทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น
ตัวอย่างการใช้บริการคลาวด์
บริษัทเกมออนไลน์ในช่วงแรกเกมอาจจะยังไม่เป็นที่นิยมจึงมีความต้องการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการได้มากเมื่อเกมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นถ้าบริษัทซื้อทรัพยากรคอมพิวเตอร์มารองรับการให้บริการไม่ทันจะทำให้การเชื่อมต่อและการตอบสนองของเกมช้าส่งผลให้ผู้เล่นไม่พอใจแต่หากบริษัทมีการใช้บริการแบบคลาวด์ จะสามารถเพิ่มทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้ทันเวลานอกจากนี้จำนวนผู้เล่นอาจจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาเช่นช่วงปิดภาคการศึกษาจะมีผู้เล่นจำนวนมากและในช่วงเปิดภาคการศึกษาจำนวนผู้เล่นจะลดลงบริษัทสามารถแจ้งเพิ่มหรือลดทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้ตามต้องการใช้งานจริง
ข้อดีของการประมวลผลแบบคลาวด์
1. ใช้งานได้ฟรี หรือจ่ายเพิ่มเมื่อใช้เกินอัตราที่กำหนด
2. ยืดหยุ่นในการปรับเพิ่มหรือลดขนาดทรัพยากรตามการใช้งานจริง
3. เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟท์แวร์และจ้างผู้ดูแลระบบ
ข้อจำกัดของการประมวลผลแบบคลาวด์
- ต้องเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตในการรับส่งข้อมูล
- หากระบบขัดข้องอาจทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
- ข้อมูลอาจถูกโจรกรรมจากช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัย
ถึงแม้การใช้บริการจะมีประโยชน์มากมายแต่มีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นพื้นที่ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตไม่สามารถใช้บริการคลาวด์ได้ ข้อมูลอาจถูกขโมยเนื่องจากช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต เหตุขัดข้องจากระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เครือข่ายได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้งานการประมวลผลแบบคลาวด์ได้ ซึ่งในทางธุรกิจแล้วแม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆก็อาจทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจหรือสูญเสียรายได้มหาศาลเช่นการขายสินค้าออนไลน์ e-commerce
ศูนย์ข้อมูล Data Center
ศูนย์ข้อมูล Data Center หมายถึงสถานที่จัดเก็บเครื่อง Server ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการตามการร้องขอจากผู้ใช้ผ่านเครือข่ายโดยจะให้บริการต่อเนื่องทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลมีองค์ประกอบดังนี้
- ระบบรักษาความปลอดภัย
ศูนย์ข้อมูลจะต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกเช่นระบบตรวจสอบการเข้าออกด้วยการใช้บัตรหรือสแกนลายนิ้วมือมีพนักงานรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมงและมีระบบกล้องวงจรปิด
- อุปกรณ์และระบบเครือข่าย
ศูนย์ข้อมูลต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ภายในศูนย์ข้อมูลหรือเครื่อง Server internet ทั้งเส้นทางหลักและเส้นทางสำรอง
3. ระบบไฟฟ้า
ศูนย์ข้อมูลที่ได้มาตรฐานจะต้องมีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าเพื่อให้เครื่อง Server สามารถทำงานได้ต่อเนื่องหากไฟฟ้าขัดข้องชั่วขณะ นอกจากนี้ศูนย์ข้อมูลควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อสำรองไฟกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้องเป็นเวลานานอีกด้วย
- ระบบทำความเย็น
ศูนย์ข้อมูลมีการควบคุมปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการทำงานเพราะหากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ร้อนเกินไปจะทำให้การทำงานขัดข้องหรือหยุดทำงานได้
- ระบบป้องกันอัคคีภัย
ศูนย์ข้อมูลจะต้องมีอุปกรณ์ตรวจจับควันประกายไฟอุปกรณ์ดับเพลิงแนวกั้นเพลิงสำหรับควบคุมเพลิงไม่ให้แพร่กระจายไปส่วนอื่นและระบบดับเพลิงอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีมูลค่าสูง
กรณีศึกษา การใช้บริการคลาวด์
ทรัพยากรคอมพิวเตอร์สำหรับการให้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ระบบประมวลผลพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
2. ระบบเครือข่ายระบบรักษาความปลอดภัย
3. ระบบปฏิบัติการ
4. เครื่องมือพัฒนาแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูล
5. Application Software
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure as a Service : IaaS
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของระบบประมวลผลแบบคลาวด์ซึ่งประกอบด้วยระบบประมวลผลระบบการจัดเก็บข้อมูลระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัย ผู้ใช้บริการสามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้ตามต้องการใช้งานจริงจากผู้ให้บริการคลาวด์ แทนการซื้อฮาร์ดแวร์เองทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์และค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัยของระบบ
การให้บริการแพลตฟอร์ม platform as a Service : PaaS
การให้บริการแบบฟอร์มเป็นการให้บริการแก่ผู้ใช้งานข่าวที่เป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเป็นหลักโดยนักพัฒนาจะใช้บริการเครื่องมือในการพัฒนา Application บนคลาวด์ เช่น เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมและระบบฐานข้อมูลหลังจากพัฒนา Application เสร็จแล้วก็สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานบน Cloud ของผู้ให้บริการได้ง่ายอีกด้วย
การให้บริการซอฟต์แวร์ Software as a Service : SaaS
การให้บริการซอฟต์แวร์บนคลาวด์โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่านบราวเซอร์ ผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้แก่ผู้ให้บริการตามต้องการใช้งานจริงประโยชน์ของการใช้ SaaS คือสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การติดตั้งซอฟต์แวร์ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ และการดูแลรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ ตัวอย่างเช่น Microsoft Office 365 Google G-suit
Dropbox คืออะไร
Dropbox ก็เหมือนกับเว็บไซต์ฝากไฟล์ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่เป็นผู้ให้บริการที่ใหญ่กว่า มีผู้ใช้งานหลักร้อยล้าน ถึงพันล้านคนจึงทำให้ระบบมีความเสถียรไม่เกิดปัญหาจุกจิก แล้วก็ยังเป็นระบบคราวด์ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ไหนก็ได้ในทุกเวลา Dropbox จึงนิยามเป็นเหมือนแฟลชไดรฟ์ออนไลน์ที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่โดยที่มันแทบไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ ไม่ต้องกลัวทำหาย จะเปิดใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วก็สามารถอัพโหลดส่งต่อไฟล์ให้คนอื่นได้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
Dropbox มีประโยชน์ยังไง
- สามารถรับส่งไฟล์ได้แม้อยู่ไกล หรือต่างสถานที่กัน
- ส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่ไม่ต้องใช้แฟลชไดรฟ์อีกต่อไป
- เข้าถึงข้อมูลเมื่อไหร่ก็ได้ จากที่ไหนก็ได้
- ปลอดภัย เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- มีความเสถียร เพราะใช้คราวด์ในการบริหารข้อมูล
google G-suite คือ
“G Suite” คือ บริการอีกอย่างหนึ่งจาก Google ซึ่งปัจจุบันได้ทำการรีแบรนด์เป็น Google Workspace มีการเปลี่ยนดีไซน์ของไอคอน แต่การทำงานยังคงเหมือนเดิม เป็นชุดแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือแม้แต่ขนาดใหญ่ โดยจะมีแอปพลิเคชันเหมาะสำหรับการทำงานต่างๆ มากมายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น
Gmail – ที่อยู่อีเมลภายใต้ชื่อโดเมนบริษัท (เช่น you@yourcompany.com)
Google Calendar – การนัดหมาย และปฏิทินออนไลน์
Google Drive – พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ และข้อมูลบน Cloud ได้มากกว่า Free Gmail ถึง 2 เท่า
Docs, Sheets, Slides, Forms – เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
Google Meet – Video Conference สำหรับองค์กร
Admin – ตัวควบคุม และจัดการบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดในองค์กร
และอื่นๆ อีกมากมายใน แอปพลิเคชันทั้งหมดของ G Suite
ด้วยการทำงานทั้งหมดของ G Suite จะอยู่บนระบบคลาวด์ (Cloud) เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ก็สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อีกด้วย
เหตุผลที่ควรใช้ G Suite
- เทคโนโลยี Could Computing ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้สามารถเก็บได้นาน ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหาย และไม่ต้องเสียเวลากับการลงโปรแกรม หรืออัปเดตเวอร์ชัน ระบบจะอัปเดตเวอร์ชันเองโดยอัตโนมัติ
- ลดภาระให้กับแผนก IT หรือหากบริษัทไม่มีแผนก IT ก็สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย
- พื้นที่อีเมลและ Google Drive ไม่จำกัด (เฉพาะแพ็คเกจ Business ขึ้นไป สำหรับแพ็คเกจ Basic จะได้พื้นที่ 30 GB)
- G Suite ทำงานผ่านเบราว์เซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Window หรือ Mac ก็สามารถใช้งานได้สะดวก ง่ายดาย พร้อมทั้งแอปพลิเคชันที่พัฒนามาเพื่ออุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ รองรับทั้งระบบ Android และ iOS
- หมดปัญหาเรื่องเซิฟเวอร์ล่ม รับประกันความพร้อมใช้งานสูงถึง 99.9%
- สามารถติดต่อพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการ เพื่อแจ้งปัญหาการใช้งาน หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้
Office 365 คืออะไร
ข้อดีของการบริการ Office 365
- มีโปรแกรม Microsoft Office ติดตัวไปตลอดเวลา
- มีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ชื่อว่า OneDrive
- ระบบอีเมลที่มีความเสถียรสูงมาก ที่ชื่อว่า Microsoft Exchange
- โปรแกรมอัพเดทตลอดเวลา ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแต่อย่างใด เพราะทุกอย่างจะทำจากส่วนกลาง
- ลดปัญหาคอมพิวเตอร์มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิกส์เสีย คอมพิวเตอร์ติดไวรัส เพราะสามารถติดตั้งใหม่ได้ทันที อีเมลเก่าๆ จะกลับมาให้อัตโนมัติ
- รองรับการทำงานร่วมกันหลายคนในงานเดียวกัน (ไฟล์เดียวกัน) ผ่านการแชร์ไฟล์บน OneDrive
- รองรับการใช้งานอีเมลทั้งใน Desktop PC และ Smartphone
- รองรับการบริหารจัดการผ่าน App บน Smartphone (Admin)
- สามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมาก
- มีระบบสำรองข้อมูลให้อัตโนมัติ
- ได้ใช้โปรแกรมใหม่ๆ ฟรี (กรณี Microsoft มีการพัฒนาเพิ่ม)
ข้อเสียของการบริการ Office 365
- ค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน
- มีข้อจำกัดในการใช้งานบ้าง เมื่อเทียบการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ (ความสามารถบางอย่าง อาจหายไป)
- ความเร็วในการใช้งาน อาจลดลงไปบ้าง
- มีการอัพเดทโปรแกรมค่อนข้างบ่อย อาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนบ้าง