ความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.1 การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
1.2 การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
1.3 การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
1.4 การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์
ข้อมูลส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ทางธุรกิจอย่างมากตัวอย่าง เช่น ถ้าเว็บไซต์รู้รสนิยมและความชอบของเราก็จะสามารถส่งสินค้าได้ตรงตามความต้องการผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตรายใหญ่จำนวนมากที่มีรายได้หลักมาจากการโฆษณาจึงต้องการเก็บข้อมูลต่างๆของผู้ใช้ เช่น ข้อมูลการใช้รายการของเว็บไซต์ที่เข้าชม ตำแหน่งที่อยู่ เพศและรายได้ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนที่รู้จัก เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการจัดโฆษณาบางครั้งการใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอาจจะต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัว เสมือนว่าเราใช้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อจ่ายค่าบริการบนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นจึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและรู้จักป้องกันรวมทั้งทราบถึงผลกระทบที่อาจตามมา
ในด้านความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็นละเมิดเช่นเดียวกันตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยครั้งเช่นการถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมหรือสถานที่ที่ห้ามถ่ายภาพและการถ่ายภาพบุคคลอื่นโดยไม่ขออนุญาตแสดงถึงการที่เราไม่รู้จักป้องกันความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นและการดำเนินการที่ถูกต้อง คือเราควรขออนุญาตเจ้าของสถานที่และบุคคลอื่นที่เราต้องการถ่ายภาพให้เรียบร้อยก่อน
นโยบายการใช้คุกกี้ (Cookies)
Cookie เป็นไฟล์ข้อความ (Text File) ขนาดเล็ก ที่ถูกเก็บบันทึกเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา ไฟล์ Cookie จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเราใช้เว็บเบราว์เซอร์เข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ
โดย Cookie จะช่วยให้ประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยมันทำหน้าที่จดจำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าเว็บขายสินค้าออนไลน์ แล้วเรามีสินค้าใส่เอาไว้ในตะกร้า หากไม่มี Cookie เมื่อเราปิดหน้าเว็บไป สินค้าในตะกร้าก็จะหายไปด้วย
แต่ด้วยความสามารถของ Cookie เว็บจะสามารถจดจำได้ว่ามีสินค้าอะไรอยู่ในตะกร้าบ้าง หรือจะเป็นพวกข้อมูลการเข้าระบบของ Facebook หากเราต้องการให้ตัวเว็บจดจำการเข้าระบบของเราไว้ตลอด ไม่ต้องมาใส่รหัสผ่านเข้าระบบใหม่ทุกครั้งที่เข้าใช้งาน ก็ต้องอาศัยเจ้า Cookie นี่แหละ
ตามปกติแล้ว เมื่อ Cookie ถูกสร้างขึ้น มันจะไม่มีการบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ถ้ามีความจำเป็น ข้อมูลก็จะถูกเข้ารหัสเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มี บุคคลที่สาม (3rd Party) แอบเข้ามาขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณไปใช้งานได้ ผู้ที่อ่านได้จะมีแต่เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นเจ้าของ Cookie เท่านั้น
บางเว็บไซต์ได้เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้น ด้วยการสร้าง Cookie แบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous) แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นมา และเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง เมื่อจำเป็นต้องใช้งาน Cookie เว็บไซต์ก็จะใช้ Cookie แบบไม่ระบุตัวตนนั้นเสมือนกุญแจสำหรับเปิดข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์
สิทธิและความรับผิดชอบ
อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เผยแพร่เนื้อหาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายผลงานเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ผลิตคิดค้นและสร้างสรรค์ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ copyright โดยอัตโนมัติดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้หรือนำมาต่อยอดโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎลิขสิทธิ์
ในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานและต้องการเผยแพร่ต่อสาธารณะสามารถเลือกที่จะเผยแพร่ผลงานได้ 2 ลักษณะดังนี้
- เผยแพร่ผลงานให้เป็นสมบัติสาธารณะ Public Domain ทางเลือกนี้ทำให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์อะไรได้เลยแม้แต่เครดิตของผลงาน
- การเผยแพร่ผลงานที่อนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้หรือพัฒนาต่อยอด เจ้าของผลงานสามารถเลือกที่จะเผยแพร่ผลงานพร้อมด้วยสัญญาอนุญาต (license) ที่อนุญาตให้มีการนำผลงานไปใช้งานต่อภายใต้เงื่อนไขบางอย่างได้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นกลุ่มของสัญญาอนุญาตที่มีทางเลือกในการเผยแพร่ผลงานที่หลากหลายโดยผู้เผยแพร่ผลงานสามารถเลือกได้ว่าต้องการอนุญาตให้นำไปใช้ต่อในลักษณะใด
สุขภาพกับการใช้งานเทคโนโลยี
ในปัจจุบันเราใช้เวลาในการนั่งทำกิจกรรมหน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งทำให้เราต้องนั่งอยู่นิ่งๆเป็นเวลานานท่าทางในการนั่งไม่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบแล้วปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายเช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ และอาจทำให้เกิดอาการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ บางท่าทางทำให้เกิดอาการตึง ปวดคอ และหลัง อาการแบบนี้เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยปรับท่านั่งและพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
โรคคอมพิวเตอร์วิชันชินโดรม Computer Vision Syndrome: CVS หรือโรคซีวีเอส
การใช้สายตาจ้องหน้าจอมือถือหรือจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจเสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชันชินโดรม Computer Vision Syndrome: CVS หรือโรคซีวีเอส ซึ่งเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน และไม่ค่อยกระพริบตา หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งช่องจอคอมพิวเตอร์อัตราการกระพริบตาจะลดลงประกอบกับแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ทำให้ตาเมื่อยล้าทั้งแสงจ้าแสงสว่างไม่เหมาะสม ระยะห่างจากจอไม่เหมาะสม ซึ่งโรคซีวีเอส มักจะมีอาการ ปวดตา แสบตา ตามัว ปวดหัว ปวดคอและบ่า
การป้องกันโรคซีวีเอส
1.วางหน้าจอคอมพวิเตอร์ให้ห่างจากดวงตา 20-28 นิ้ว และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบ 4-5 นิ้ว
2.ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่สว่างเกินไป
3.ถ้าต้องอยู่หน้าจอทั้งวันเกิน 1-2 ชั่วโมง ควรพักสายตาเป็นระยะ ใช้สูตร 20-20-20 คือ ละสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที แล้วมองไปที่วัตถุไกลอย่างน้อย 20 ฟุต นาน 20 วินาที
4.เวลาอยู่หน้าจอ ต้องหมั่นกระพริบตาบ่อย ๆ หากแสบตามาก อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย
5.วางหน้าจอคอมพวิเตอร์ให้ห่างจากดวงตา 20-28 นิ้ว และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบ 4-5 นิ้ว
6.ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่สว่างเกินไป
7.ถ้าต้องอยู่หน้าจอทั้งวันเกิน 1-2 ชั่วโมง ควรพักสายตาเป็นระยะ ใช้สูตร 20-20-20 คือ ละสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที แล้วมองไปที่วัตถุไกลอย่างน้อย 20 ฟุต นาน 20 วินาที
8.เวลาอยู่หน้าจอ ต้องหมั่นกระพริบตาบ่อย ๆ หากแสบตามาก อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย
สารอาหารสำคัญ 3 กลุ่มเพื่อสุขภาพดวงตา
1.แคโรทีนอยด์ สารอาหารในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในผักผลไม้หลากสี จำไว้ว่า ผักใบเขียวช่วยปกป้องแสงสีฟ้าจากหน้าจอมคอมพิวเตอร์และแสงแดดจ้าได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคซีวีเอสได้ถึง 50%
2.น้ำมันปลา ให้สารสำคัญโอเมก้า-3 ที่ประกอบด้วยดีเอชเอ และอีพีเอ ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของเนื้อเยื่อจอประสาทตา อีกช่วยบำรุงสายตา ปรับสมดุลความดันในลูกตา เสริมประสิทธิภาพการมองเห็น
3.สารต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาเรื่องโรคจอประสาทตาเสื่อมที่สัมพันธ์กับอายุ (AREDS) โดยสถาบันดูแลดวงตาของสหรัฐอเมริกา พบว่า การกินสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง ได้แก่ สังกะสี วิตามินอี ทองแดงและเบต้าแคโรทีน มีผลลดการกำเริบของโรคซีวีเอสได้ 25%