เมื่อกล่าวถึงการที่หุ่นยนต์เครื่องจักรอัตโนมัติและระบบปัญญาประดิษฐ์มาทดแทนการทำงานของมนุษย์ในบางอาชีพ สถานการณ์ที่หลายคนจินตนาการคือ มนุษย์จะต้องตกงานและไม่มีอาชีพ แต่สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมากกว่าคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรเครื่องจักรที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์จะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับคำสั่งเป็นผู้ร่วมงานร่วมออกความคิดเห็นมนุษย์จะเปลี่ยนบทบาทจากผู้สั่งงานและตัดสินใจทั้งหมดเป็นผู้ร่วมคิดใช้วิจารณญาณและตรวจสอบ
นอกจากนี้มนุษย์ยังได้เปรียบกว่าระบบอัตโนมัติในด้านศักยภาพการทำงานเชิงกลของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทที่มีวิวัฒนาการมานานมือของมนุษย์มีความยืดหยุ่นในการทำงานและแม่นยำในระดับที่หุ่นยนต์ยังทดแทนได้ยาก จะเห็นได้จากการจัดหนังสือในกล่องก่อนส่งบริษัทแห่งหนึ่งจะใช้มนุษย์หยิบหนังสือใส่กล่องเพราะว่าหนังสือมีลักษณะที่แตกต่างกันมากจนทำให้การพัฒนาระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติทำได้ยากแต่ในการทำงานนั้นจะมีหุ่นยนต์ช่วยยกชั้นหนังสือมาส่งให้มนุษย์เพื่อลดระยะเวลาในการเดินไปเดินมา
ดังที่กล่าวมาเมื่อพิจารณาอาชีพในอนาคตมนุษย์จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์มากขึ้นและมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตัดสินใจหลักอีกต่อไปในปีพุทธศักราช 2561 พอล โดเกอร์ธี (Paul Daugherty) และเจมส์ วิลสัน (James Wilson) เสนออาชีพที่น่าจะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร ดังนี้
มนุษย์ทำหน้าที่ฝึกสอนให้หุ่นยนต์ทำงานได้ตามต้องการรวมทั้งให้คำแนะนำหรือให้คะแนนผลลัพธ์จากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ทำให้ระบบการทำงานดียิ่งขึ้นสำหรับระบบที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักรมนุษย์อาจเป็นคนสร้างตัวอย่างสำหรับฝึกสอน
หน้าที่ของผู้อธิบายคือเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ยกตัวอย่างเช่นในระบบวินิจฉัยโรคที่มีการแสดงผลอย่างซับซ้อนอาจจะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำอธิบายและคำปรึกษาโดยตรงกับผู้ใช้แต่ความต้องการผู้อธิบายนี้ไม่ใช่มีเฉพาะกับระบบทางการแพทย์เท่านั้นในระบบอื่นๆเช่นระบบวิเคราะห์ทางการเงินระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงระบบการจัดอันดับต่าง ๆ ก็อาจต้องการมนุษย์ช่วยตีความผลลัพธ์เช่นกัน
ดูแลรักษาระบบปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ยกตัวอย่างเช่นกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ ตรวจสอบและดูแลให้ระบบได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพดูแลงานซ่อมบำรุงรวมไปถึงการตรวจสอบว่าระบบอย่างมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน