คลาวด์คอมพิวติง

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.2

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คือ บริการเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และทรัพยากรแบบครบวงจร โดยสามารถเลือกเช่าฮาร์ดแวร์และ/หรือซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย(Server) การติดตั้งฐานข้อมูล(Database) การทดสอบระบบ(Testing) การประมวลผลที่รองรับได้หลากหลายระบบปฏิบัติการ(Platform) ตลอดจนถึงการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ(Storage)

ทั้งหมดนี้เป็นบริการผ่านทางออนไลน์จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ต้องการและสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้เพียงแค่อาศัยการเข้าถึงผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น PC Notebook มือถือ หรือ Tablet และสามารถแชร์การทำงาน (shared services) ร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย โดยที่ผู้ให้บริการ (Cloud Provider) จะคอยจัดการระบบทุกอย่างที่ผู้ใช้งานต้องการให้รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้วย โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์(Software) นอกจากนั้นยังไม่ต้องติดตั้งหรือวางระบบเครือข่ายเอง เพื่อช่วยลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างสูงได้ และอีกทั้งยังสามารถเลือกปรับเปลี่ยนระบบตามการใช้งานจริงได้หากเดือนไหนต้องการใช้งานน้อยลงก็สามารถเลือกลดสเป็คลงมาค่าใช้บริการในเดือนนั้นก็จะลงไปด้วย

แบ่งตามรูปแบบการให้บริการ 

  1. SaaS (Software as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น 
  2. PaaS (Platform as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App Engine, Azure DB และ Amazon RDS เป็นต้น 
  3. IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการเช่น Azure, AWS และ Netway Cloud เป็นต้น  

ประโยชน์ของ Cloud Computing 

  1. ประหยัดการลงทุนทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะใช้รูปแบบบริการแบบเช่าผ่านผู้ให้บริการ สามารถใช้บริการได้เท่าที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง พัฒนาและขึ้นระบบเองทั้งหมด 
  2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทันที ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ การสร้างและลบจึงสามารถทำได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา 
  3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ตามปริมาณการใช้งานหรือลดการใช้งานของผู้ที่ต้องการใช้ 
  4. เข้าถึงบริการได้จากทุกที่ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet ผ่านผู้ให้บริการจึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ 
  5. ลดปัญหาการดูแลระบบ เนื่องจากบริการเป็นรูปแบบของการเช่าใช้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดูแลระบบแทน ซึ่งจะช่วยลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อมาดูแลระบบ 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Cloud ในองค์กร

  1. Compute Engine – ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการสร้าง Cloud Server สำหรับทำ Web Server หรือ Mail Server เป็นต้น 
  2. Test and Developmnet – องค์กรที่มีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งานด้วยตนเองอาจพบปัญหาระบบที่มีอยู่ที่ไม่เพียงพอ หรือต้องเสียเวลาในการขึ้นระบบซึ่งค่อนข้างยาก ซับซ้อนและใช้เวลานาน เมื่อใช้ Cloud นักพัฒนาสามารถทดสอบระบบบน Cloud ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถย้าย Application จากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องจำเป็นต้องขึ้นระบบขึ้นใหม่ 
  3. Big Data Analytics – เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆ ปี องค์กรขนาดใหญ่จึงเลือกที่จะลงทุนหรือพัฒนา Big Data เพื่อรองรับการเติบโตและการประมวลผลในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการ Big Data เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างที่เรารู้จักเช่น Google เป็นต้น 
  4. Disaster Recovery – ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง อาจเกิดจากความไม่สงบ สงคราม หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ การมองหาไซต์สำรองหรือ DR Site จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ทำให้เรามั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ระบบของเราจะยังสามารถทำงานต่อไปได้ 
  5. Storage and Backup – การเก็บข้อมูลบน Data Center ของตนเองอาจยังปลอดภัย หรือมีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่การจัดเก็บ การใช้บริการ Cloud ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่ามีข้อมูลสำรองกรณีที่ต้องการใช้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของการปรับขนาดในอนาคต