สมรรถนะแห่งตน หรือขีดระดับความสามารถ (Functional Competency) ของบุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนาตนเอง เป็นความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษาในคุณลักษณะด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ลักษณะเฉพาะตัว(Attribute) พฤติกรรม (Behavior) ประกอบกันทำให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกิดผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้ โดยสิ่งจำเป็นของบุคลากรทางการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะที่พึงมีและพึงปฏิบัติมาเป็นพื้นฐาน(Competency base) ในการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการฝึกอบรมและพัฒนา การประเมินผลของการปฏิบัติงาน รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทนและภาระหน้าที่ อันก่อเกิดสมรรถนะแห่งตนได้อย่างมีศักยภาพ คือ
- ความมุ่งมั่นในงาน (Achievement) เพื่อให้การปฏิบัติงาน ดำเนินการอย่างสะดวกรวดเร็ว คล่องตัวและเป็นระเบียบ/แบบแผนตามที่กำหนดและบรรลุเป้าหมาย
- การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการแก้ไข สู่การพัฒนาทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
- ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Respect for others) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ฉันญาติมิตรและพี่น้อง ที่เสมอเหมือนครอบครัว เดียวกัน
- ความใส่ใจต่อบุคคลและสมาชิก (Personals Centric) เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
- ความคิดริเริ่มสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ (Initiative to Creative) เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่
- ความเอาใจใส่คุณภาพ (Quality Awareness) เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ความใฝ่ใจเรียนรู้ (Eager to Learn) และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้จริง
- การมุ่งมั่นในความสำเร็จ (Commitment to Success) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- ความมีจิตสำนึกของการทำงานเป็นทีม (Team Spirit) มีคุณธรรมและภาวการณ์นำที่ดี ที่เรียกว่าการมีจิตสาธารณะ หรือ จิตอาสาที่ดีงาม
- การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว(Adaptability) เพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคการสื่อสารที่ไร้พรหมแดนทั้งการพัฒนางาน การพัฒนาตนเอง การพัฒนาผู้เรียน และสถานศึกษา ให้สามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิผล
การพัฒนาตนเองให้เกิดสมรรถนะแห่งตน คือการเปิดใจกว้างและมุ่งมั่น การตระหนักพัฒนาและการเรียนรู้เพื่อรับสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากประสบการณ์ความรู้ที่มีอยู่นำมาพิจารณาถึงความสอดคล้องและเหมาะสม มีการคิดเชิงระบบในองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดดุลยภาพทั้งด้านคุณลักษณะความรู้ ทักษะ ลักษณะเฉพาะตัวพฤติกรรมและจิตสาธารณะสู่ภาวะผู้นำ คือ ภูมิรู้ภูมิทำและภูมินาม
อ้างอิง https://personnel.obec.go.th/